1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

January 2010 เทศกาลตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีน


ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เป็นการขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก ตามปฏิทินจีน   ในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาล

ประดับโคมไฟ     ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญ

มากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป  


เรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของวันตรุษจีน

ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน มีมาแต่โบราณ มีชื่อเรียกว่า "กว้อชุนเจี๋ย" หรือ "กว้อเหนียน" เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า "เหนียน" 

มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวน

หนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตู

ออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูกเหนียนทำร้าย


ต่อมาพบว่าเหนียนมีจุดอ่อนคือ กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ผู้คนจึงคิดหาวิธีกำจัดเหนียน โดยเมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุด

ประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่องทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่าง

สนุกสนาน  ต่อมา วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า "ตรุษจีน"


การฉลองตรุษจีนในประเทศไทย


ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่จะการเตรียมงานฉลองก่อนเริ่มต้นวันตรุษจีน และถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว


การเตรียมการฉลอง

ก่อนเริ่มวันตรุษจีนผู้คนจะเตรียมการฉลองโดยเริ่มซื้อของขวัญ และสิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน รวมทั้งอาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูกทำความสะอาดตั้งแต่ข้างบนลงมาข้าง

ล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูกประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพร เช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืน เป็นต้น


วันจ่าย

คือ วันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนไปซื้ออาหาร ผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชา

ของเจ้าบ้าน  หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์ เมื่อ 4 วันที่แล้ว


วันไหว้

คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ

-ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ไปเล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และ กระดาษเงินกระดาษทอง

-ตอนสาย จะไหว้ "ไปแป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว  เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน  การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ  อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำ

ตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ  หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมาร่วมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเพื่อเป็นสิริมงคล ถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูล

จะรวมตัวกันได้มากที่สุด และแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว

-ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล

วันเที่ยว

วันเที่ยว  หรือ วันถือ  คือวันขึ้นปีใหม่  เป็นวันที่หนึ่ง (ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก  

โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก"  ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้า

ของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่า วันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอก

บ้าน เป็นต้น

เกร็ดความรู้อื่นๆ

 

อั่งเปา

เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อั่งเปา ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ อั่งเปา หมายถึง กระเป๋าแดงหรือซองแดง ใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำ

ว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว  หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่ม

จากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป)



ความหมายของอาหารไหว้ในวันตรุษจีน

-หมู มีความหมายถึงความมั่งคั่ง ความอุดมสมบรูณ์ มีกินมีใช้ด้วยความอ้วนของตัวหมู สะท้อนถึงความกินดีอยู่ดี


-ไก่ หมายถึง ความสง่างาม ขุนนาง ยศ และ ความขยันขันแข็ง ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีมงคล 2 อย่างคือ

1. หงอนไก่สื่อถึงหมวกขุนนาง ความหมายมงคลจึงเป็นความก้าวหน้าในงาน

2. ไก่ขันตรงเวลาทุกเช้า สะท้อนถึงการรู้งาน


-เป็ด หมายถึง สิ่งที่บริสุทธิ์ ความสะอาด ความสามารถอันหลากหลาย


-ขนมเข่ง หมายถึง ความหวานชื่น ชีวิตมีความราบรื่น รูปลักษณ์มีความหมายของชะลอมที่เก็บของ เมื่อรวมกันกับความหวานชื่น จึงหมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์


-ขนมเทียน ปกติ ขนมเทียนไม่ใช่ขนมของชาวจีนดั้งเดิม แต่เป็นขนมที่ถูกปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดิน โดยดัดแปลงจากขนมท้องถิ่น(ของไทย)จากขนมใส่ไส้ เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน ความ


หมายของขนมเทียนจึงใช้ความหมายเดียวกับขนมเข่ง คือความหวานชื่น ราบรื่น ส่วนรูปลักษณ์ที่เป็นสามเหลี่ยมกรวยแหลม มีลักษณะมงคลในทางศาสนา คือ เจดีย์


-ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม


-ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียกคือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบ ฟักเชื่อม และข้าวพอง

-ฟัก เพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต

-ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แปลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงาม และชีวิตหวานอย่างขนม


-ส้ม คนจีนแต้จิ๋วเรียกแบบชาวบ้านว่า กา แต่ส้มมีอีกคำเรียกว่า ไต้กิก ไต้ แปลว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มงคล ไต้กิก จึงแปลว่า มหาสิริมงคล แต่ถ้าแปลง่ายๆ แบบชาวบ้าน


ที่มา วิกิพีเดีย โอเคเนชั่น และคลังปัญญาไทย

united luxury shop