1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

June 2011 500 ปีความสัมพันธ์สยาม-โปรตุเกส

                                500 ปีความสัมพันธ์สยาม-โปรตุเกส


      ปี 2011 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองมิตรภาพอันยิ่งใหญ่ระหว่างไทยและโปรตุเกส  ชาวตะวันตก  ชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้โปรตุเกสจะเป็นประเทศเล็กๆในยุโรปและปัจจุบันจะไม่ใช่ประเทศที่ยิ่งใหญ่หรือโดดเด่นมากเท่าประเทศในยุโรปประเทศอื่นๆแต่ในอดีต โปรตุเกสมีความเจริญทั้งวัฒนธรรม วิทยาการและการค้า ที่สำคัญคือเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กับไทยมายาวนานถึง 5 ศตวรรษจึงมีร่องรอยปรากฎเป็นหลักฐานรวมถึงเรื่องใกล้ตัวที่หลายคน อาจคาดไม่ถึงหรือหลงลืมไป ในโอกาสที่ปีนี้เป็นปีที่ครบ 500 ปี ความสัมพันธ์สยาม-โปรตุเกส  แมกาซีนออนไลน์จึงนำเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมานำเสนอในหลากหลายแง่มุม


      ในยุคที่มีการล่าอาณานิคมอย่างต่อเนื่อง ปีค.ศ.1511 กองทัพเรือโปรตุเกสต้องการยึดครอง มะละกาด้วยความมั่งคั่งของมะละกาและความต้องการที่จะขยายผลทางการค้า หลังจากโปรตุเกส ด้ขยายอำนาจมาถึงมะละกาซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยามาก่อน โปรตุเกสเกรงจะเกิด ปัญหาบาดหมางในภายหลังและหวังจะกดดันมะละกาจึงได้ส่งราชทูตพร้อมเครื่องราชบรรณาการ เจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรรอบข้าง


      Alfoso d'Alboquerque อุปราชโปรตุเกสประจำภาคตะวันออกได้ส่งทูตคนแรกคือ Duarte Fernandez เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอเจริญสัมพันธไมตรีกับพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการเข้ามายังสยามนั้นมิได้มีเจตนาจะเป็นปฏิปักษ์


       แม้การเข้ามาสยามของชาติยุโรปอย่างโปรตุเกสในยุคที่ชาติตะวันตกออกล่าอาณานิคม ทำให้ เกิดข้อกังขาว่าโปรตุเกสอาจประสงค์ยึดดินแดนสยาม แต่เมื่อพิจารณานโยบายทางการเมืองของ โปรตุเกสพบว่าโปรตุเกสมีประสงค์ในการทำการค้ามากกว่ายึดสยามเป็นเมืองขึ้น โดยต้องการ ผูกขาดการค้าเครื่องเทศจากสยาม ต้องการตั้งโกดังสินค้ารวมทั้งต้องการเผยแผ่คริสตศาสนาใน สยามอย่างอิสระ ในขณะเดียวกันสยามก็มุ่งหวังได้โปรตุเกสเป็นพันธมิตรมหาอำนาจตะวันตกและ ช่วยเสริมกำลังให้กองทัพด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยซึ่งโปรตุเกสได้ช่วยเหลือสยามทั้งด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และการสร้างเสริมกองทัพให้แข็งแกร่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสยามมากในยุคที่บ้าน เมืองมีการบพุ่งกันตลอดเวลา


นับจากนั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์แห่งมิตรไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกสก็เริ่มต้นขึ้นและงอกงาม มีชาวโปรตุเกสหลายคนเลือกมาตั้งถิ่นฐานในแผ่นดินสยาม พวกเขาเริ่มตั้งรกรากที่กรุงศรีอยุธยา โดยชาวโปรตุเกสที่เข้ามานั้นมีทั้งคนที่มีทักษะทางการค้า มีทักษะด้านการทหาร และมีบางคนที่ ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนา เข้ามาช่วยเหลือชุมชนชาวคริสต์ ต่อมาสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 13 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้พระราชทานที่ดินแก่ชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ ในพระนครศรีอยุธยาซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "บ้านโปรตุเกส"


       ในแผ่นดินรัตนโกสินทร์โปรตุเกสได้เข้ามาตั้งสถานกงสุลที่กรุงเทพฯเมื่อปี 1818 ซึ่งนับเป็นสถาน กงสุลแห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานที่ดินฝั่ง ตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้แก่โปรตุเกสเมื่อค.ศ. 1820 อันเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูต โปรตุเกสประจำประเทศไทยในปัจจุบันซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ลาว และพม่า


       สำหรับการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1859และได้ลงนามสนธิสัญญาทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ ในปี 1981 ประเทศไทยได้เปิดสถาน เอกอัครราชทูตขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงลิสบอน


       การเจริญความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโปรตุเกสนับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการถ่ายทอดศิลปะวิทยาการ   ด้านต่างๆ จากชาติตะวันตก อาทิ การเผยแพร่คริสตศาสนา การพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัย การเปิดโรงเรียนสอนวิชาแขนงต่างๆ การแพทย์ และวัฒนธรรมการกินซึ่งได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส และมีการประยุกต์มาเป็นขนมไทย เช่น ขนมกุฎีจีน ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ทองม้วน และขนมหม้อแกง ซึ่งเป็นขนมที่ชาวโปรตุเกสได้นำเข้ามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  


       ประเทศโปรตุเกสให้ความสำคัญกับการเฉลิมฉลองครบ 500 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างไทยกับโปรตุเกสโดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมมาตั้งแต่ต้นปี 2554และจะมีกิจกรรม ต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2554  เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งในเชิงวัฒนธรรม การค้า การท่องเที่ยว การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และด้านอื่นๆ


       ที่มา

       http://www.mfa.go.th

       http://haab.catholic.or.th

       http://www.bangkokbiznews.com

       http://www.dailynews.co.th

New layer...
New layer...
united luxury shop