1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

July 2011 World Book Capital

World Book Capital

ถือเป็นข่าวใหญ่และข่าวดีสำหรับวงการหนังสือไทย เมื่อ UNESCO ประกาศให้กรุงเทพมหานครเป็น World Book Capital 2013 หรือเมืองหนังสือโลกประจำปี 2556 หลายคนอาจสงสัยว่าเมืองหนังสือโลกคืออะไร และทำไมกรุงเทพมหานครถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก แมกกาซีนออนไลน์เดือนกรกฎาคมมีคำตอบค่ะ

เมืองหนังสือโลกคืออะไร

เมืองหนังสือโลกหรือ World Book Capital เป็นรางวัลที่ UNESCO องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มอบให้แก่เมืองซึ่งมีโครงการที่ให้การสนับสนุนด้านหนังสือ การกระตุ้นการอ่าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหนังสือให้ความสำคัญในการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ การประกาศรางวัลเมืองหนังสือโลกจะประกาศล่วงหน้า 2 ปีโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนของปีที่แต่งตั้งจนถึงวันที่ 22 เมษายนของปีถัดไป แม้เมืองที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลกจะไม่ได้รับรางวัลหรือการสนับสนุนด้านการเงินใดๆ แต่ก็ถือเป็นเกียรติของประเทศที่ได้รับคัดเลือกโดยจะได้รับการประกาศให้เป็นที่รับรู้ทั่วไปถึงการพัฒนาโครงการที่ดีที่สุดที่มุ่งพัฒนาหนังสือและการอ่านอย่างแท้จริง


เมืองหนังสือโลกมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่และเริ่มต้นได้อย่างไร

สืบเนื่องจากความสำเร็จของวันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก (World Book and Copyright Day) วันที่ 23 เมษายนของทุกปีซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1996 UNESCO จึงได้พัฒนาแนวคิดของเมืองหนังสือโลกเพื่อให้สอดคล้องกับการเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก ด้วยเหตุผลว่าหนังสือคือสิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้เพื่อมนุษยชาติ โดย UNESCO ได้ประกาศให้ Madrid, Spain เป็นเมืองหนังสือโลกแห่งแรกในปี 2001 ซึ่งแนวคิดของเมืองหนังสือโลกได้รับการตอบรับอย่างดีเช่นเดียวกับวันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก ต่อมา UNESCO ได้จัดประชุมเพื่อให้แนวคิดของเมืองหนังสือโลกเป็นกิจกรรมประจำปี ได้มีการเชิญสมาคมผู้จัดพิมพ์ สมาคมห้องสมุด ตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหนังสือ และสถาบันที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการพิจารณา เพื่อให้ความเชื่อมั่นว่าผู้เกี่ยวข้องกับหนังสือในด้านต่างๆ มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง


คุณสมบัติของเมืองที่จะได้รับคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลกคืออะไร

1.เป็นเมืองที่มีความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับนานาชาติ รวมทั้งผลที่น่าจะได้รับจากแผนการส่งเสริมการอ่านของเมืองและประเทศนั้นๆ

2.เป็นเมืองที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องโดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ สมาคมนักเขียน สมาคมผู้จัดพิมพ์ สมาคมห้องสมุด สมาคมร้านขายหนังสือ เป็นต้น

3.เป็นเมืองที่มีโครงการสนับสนุนการพัฒนาหนังสือและการอ่าน

4.เป็นเมืองที่ส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องเสรีภาพการแสดงออกทางความคิด ผู้คนในสังคมสามารถจัดพิมพ์และกระจายข้อมูลข่าวสารได้โดยอิสระ

5.มีแผนระยะยาวที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่จะทำเพื่อให้เป็นเมืองหนังสือโลก


เส้นทางสู่เมืองหนังสือโลกของกรุงเทพฯ เป็นอย่างไร

ปี 2006 กรุงเทพมหานครเคยเสนอชื่อเข้าไปคัดเลือกเพื่อให้เป็นเมืองหนังสือโลกในปี 2008 หรือปี 2551 สืบเนื่องมาจากการประชุมอาเซียนที่พม่าซึ่งมีมติว่าอาเซียนควรริเริ่มโครงการเมืองวัฒนธรรมของอาเซียนซึ่งให้ใช้รูปแบบเดียว

กับ European Capital of Culture ของสหภาพยุโรปหรือ EU ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้นำเสนอแนวคิดว่าต้องการให้ประเทศไทยเป็น "นครแห่งการอ่าน" City of Reading หรือ City of Book ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ

 UNESCO แต่การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านของประชาชนในสังคมไทยเมื่อปี 2549 พบว่า พฤติกรรมการอ่านของคนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 1.59 ชั่วโมง เปรียบเทียบแล้วคนไทยอ่าน

หนังสือเฉลี่ยคนละ 5 เล่มต่อปี ดังนั้นเพื่อให้คนไทยเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาการอ่านจึงได้เสนอชื่อเข้าไปแต่ในครั้งนั้นกรุงเทพฯ ไม่ผ่านการพิจารณาโดยเมืองหนังสือโลกปี 2008 หรือปี 2551 คือ Amsterdam, Netherlands


หตุใด UNESCO ถึงเลือกกรุงเทพฯ เป็นเมืองหนังสือโลก

กรุงเทพฯเป็นเมืองที่ 13 ที่ได้รับการคัดเลือกเป็น World Book Capital ในปี 2013 โดยคณะกรรมการประกาศให้เหตุผลว่า "เพราะกรุงเทพฯ มีความมุ่งมั่นที่จะนำผู้มีส่วนได้เสียในวงการหนังสือทุกส่วน รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ เข้ามาร่วม

มือกันพัฒนาการอ่านโดยได้นำเสนอแผนโครงการที่มีความหลากหลาย มุ่งเน้นชุมชนและแสดงออกถึงการมีพันธะสัญญาในระดับสูงที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการอ่านและคุณภาพหนังสืออย่างจริงจัง"


เมืองอะไรบ้างที่ยื่นสมัครเป็นเมืองหนังสือโลก ปี 2013

1.Bangkok, Thailand

2.Cairo, Egypt

3.Incheon, Korea

4.Quezon, Philippines

5.Quito, Ecuador

6.Sharia, Emirates

7.ShenZhen, China


เมืองอะไรบ้างที่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก

ปี 2001 Madrid, Spain

ปี 2002 Alexandria, Egypt

ปี 2003 New Delhi, India

ปี 2004 Antwerp, Belgium

ปี 2005, Montreal, Canada

ปี 2006 Turin, Italy

ปี 2007 Bogota, Columbia

ปี 2008 Amsterdam, Netherlands

ปี 2009 Beirut, Lebanon

ปี 2010 Ljubljana, Slovenia

ปี 2011 Buenos Aires, Argentina

ปี 2012 Yerevan, Armenia


ที่มา

ข้อมูล : http://en.wikipedia.org/wiki/World_Book_Capital

http://www.bookandreading.com/

ภาพ : google

united luxury shop