Hot News
September 2012 Martial Arts in ASEAN Countries
ศิลปะการต่อสู้ของประเทศกลุ่มอาเซียน
ไทย
(Thailand)
มวยไทย (Muay Thai) เป็นกีฬาด้านทักษะการต่อสู้จากประเทศไทย ที่ใช้การชกต่อยในท่ายืนเป็นหลัก ควบคู่ไปกับวิธีการกอดรัดคู่ต่อสู้แบบต่างๆ จากการที่มวยไทยมีพื้นฐานมาจากศิลปะการต่อสู้แบบจีนและอินเดีย ผู้ฝึกฝนกีฬามวยไทยจึงได้กล่าวอ้างว่ากีฬาเชิงต่อสู้นี้มีประวัติย้อนหลังไปนับพันปี จากการใช้ศิลปะการโจมตีทั้งแปด (The Arts of Eight Limbs) ของมวยไทย นักมวยจะได้รับการฝึกให้โจมตีด้วยจุดสัมผัสทั้งแปดจุดของร่างกาย ได้แก่ สองกำปั้น สองศอก สองเข่า และสองเท้า
มาเลเซีย
(Malaysia)
โตโมย (Tomoi) เป็นศิลปะการต่อสู้โดยปราศจากอาวุธของมาเลเซีย ประกอบด้วยการเตะ การต่อย และการโจมตีคู่ต่อสู้ด้วยเข่าและศอก ชุดมาตรฐานของผู้เล่นประกอบด้วยกางเกงขาสั้น นวม ปลอกแขน และผ้าสำลีคลุมเท้า การกัด การโจมตีบริเวณขาหนีบหรือหว่างขา การดึงเชือก การทำร้ายคู่ต่อสู้ที่ล้มลงไปแล้ว และการตีคู่ต่อสู้ขณะหันหลัง ถือว่าผิดกติกา
ในระหว่างการต่อสู้ มีการบรรเลงดนตรีแบบดั้งเดิมโดยใช้กลอง ขลุ่ย และเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ
ฟิลิปปินส์
(The Philippines)
ศิลปะการต่อสู้แบบฟิลิปปินส์จะอิงวิธีการต่อสู้ทั้งแบบโบราณและแบบใหม่ วิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือศิลปะการป้องกันตัวชื่อว่า อาร์นิส เอสคริม่า และคาลี (Arnis, Eskrima and Kali) แสดงในรูปแบบศิลปะการต่อสู้โดยใช้อาวุธเป็นหลัก โดยเน้นอาวุธประเภทมีดหรือไม้ในการต่อสู้
เวียดนาม
(Vietnam)
วอวีนัม (Vovinam) เป็นศิลปะการต่อสู้แบบเวียดนามที่เล่นได้โดยใช้อาวุธหรือไม่ใช้อาวุธก็ได้ วอวีนัมประกอบด้วยการใช้มือ ศอก การเตะถีบ วิธีการหลบหลีกและการง้างงัด ทั้งวิธีการโจมตีและการป้องกันตัวจะถูกฝึกฝน รวมไปถึงรูปแบบการต่อสู้และการปลุกปล้ำแบบดั้งเดิมด้วย
ลาว
(Lao PDR)
มวยลาว (Muay Lao) เป็นศิลปะการต่อสู้แบบโบราณโดยปราศจากอาวุธของลาว ลักษณะคล้ายมวยไทย (Muay Thai) ของประเทศไทย มวยลาวเปรียบได้กับ "ศิลปะการโจมตีทั้งแปด" หรือ "ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด" ของประเทศไทย เนื่องจากใช้การต่อย การเตะ และการโจมตีด้วยศอกและเข่า
บรูไนดารุสซาลาม
(Brunei Darussalam)
กุนเตา อัสลี (Kuntao Asli) เป็นรูปแบบศิลปะการต่อสู้ประจำประเทศ ขณะที่นักสู้กำลังชกต่อย ลำตัวจะยกสูงขึ้นและประชิดกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้นักสู้เคลื่อนไหวได้รวดเร็วขณะต่อยและเตะคู่ต่อสู้ การเตะมักจะกระทำในระดับบั้นเอวและจำกัดเฉพาะการเตะแบบรวดเร็วทางด้านหน้า ไม่อนุญาตให้มีการเตะด้านข้างหรือการเตะแบบวงพระจันทร์ ใช้การต่อยเป็นรูปแบบมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการต่อสู้ กุนเตา อัสลี ดั้งเดิมอาจแตกต่างจากรูปแบบปัจจุบันเล็กน้อย โดยท่ายืนจะมีการถ่างขากว้างขึ้น และมีรูปแบบการโจมตีหรือการเตะที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น
สิงคโปร์
(Singapore)
ซีลัต มลายู (Silat Melayu) เป็นศิลปะการต่อสู้ที่โดดเด่นในสิงคโปร์ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากมาเลเซีย ต่อมาได้แพร่เข้ามาในสิงคโปร์และกลายเป็นที่นิยมที่นั่น ศิลปะการต่อสู้นี้ถูกเรียกชื่อว่า ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เพื่อแยกรูปแบบการต่อสู้แบบมาเลเซียออกจากรูปแบบอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย
(Indonesia)
ปรีไซ ดีรี (Perisai Diri) เป็นศิลปะการต่อสู้แบบอินโดนีเซีย ความหมายตรงตัวของชื่อแปลว่า เกราะป้องกันตัว ปรีไซ ดีรี เน้นการเคลื่อนไหวในแนวตรง โดยยึดโครงสร้างร่างกายตามธรรมชาติเป็นหลัก ใช้กลวิธีดุจลักษณะของนกที่โฉบเฉี่ยว รวดเร็วว่องไว และพลังที่ดุร้ายของเสือและมังกร
กัมพูชา
(Cambodia)
ประดั่ญเซเรีย (Pradal Serey) เป็นศิลปะการต่อสู้โดยปราศจากอาวุธของกัมพูชา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกีฬาต่อยมวยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบอื่นๆ ประดั่ญเซเรียเน้นท่าทางการต่อสู้ที่รวดเร็วว่องไวและหลอกล่อคู่ต่อสู้มากกว่า รูปแบบการต่อสู้แบบกัมพูชามีแนวโน้มที่จะใช้ข้อศอกเป็นประโยชน์มากกว่ารูปแบบการต่อสู้อื่นๆ ของภูมิภาค ชัยชนะได้มาโดยวิธีการศอกมากกว่าการโจมตีด้วยท่าอื่นใด
พม่าหรือเมียนมาร์
(Myanmar)
บันโด (Bando) เป็นรูปแบบการป้องกันตัวที่เน้นวิธีการใช้ลักษณะท่าทางของสัตว์เป็นพื้นฐาน อันน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการต่อสู้ของอินเดียและจีน รูปแบบดังกล่าวประกอบด้วยลักษณะท่าทางของหมูป่า วัวกระทิง งูเห่า เสือดาวหรือเสือดำ ลิง งูเหลือม แมงป่อง เสือ กวาง นกนาข้าว และงูพิษ การเคลื่อนไหวในแต่ละรูปแบบถอดลักษณะท่าทางของชนิดสัตว์ที่นักสู้เลียนแบบ
References:
http://balisunset.hubpages.com
http://silat-malela.blogspot.com
http://www.muaythai.wordpress.com