Hot News
February 2014 ASEAN Capital Cities
เมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Capital Cities)
Kingdom of Thailand ราชอาณาจักรไทย
เมืองหลวง - ประเทศไทยมีชื่อเรียกเมืองหลวงในภาษาอังกฤษคือ "บางกอก" (Bangkok) แต่เรียกกันในภาษาไทยว่า "กรุงเทพมหานคร" ซึ่งนอกจากเป็นเมืองหลวงแล้ว ยังเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศอีกด้วย โดยมีประชากรมากกว่า 8 ล้านคน กรุงเทพมหานครก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 1,568 ตารางกิโลเมตร หรือ 605.7 ตารางไมล์
การปกครอง - -กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่ากรุงเทพมหานคร นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง โดยมีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อดำรงตำแหน่งบริหารเป็นระยะเวลา 4 ปี
เศรษฐกิจ - กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินของประเทศไทยโดยหนึ่งในสามของจำนวนธนาคารในประเทศนั้นล้วนมีที่ตั้งอยู่ที่เมืองนี้ และยังเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้กรุงเทพฯยังเป็นเมืองแห่งศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และรถไฟ
ท่องเที่ยว - กรุงเทพมหานครนั้นได้ถูกขนานนามจากนิตยสาร Travel + Leisureว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกถึงสี่ปีติดต่อกัน การท่องเที่ยวนั้นถือว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของกรุงเทพในปีพ.ศ. 2556 กรุงเทพฯถูกจัดอันดับเป็นเมืองที่มีผู้มาท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก โดยรายงานชื่อ 2013 Global Destination Cities Index ที่จัดทำโดยบริษัทมาสเตอร์การ์ด (MasterCard) โดยรายงานสรุปว่า - กรุงเทพฯมีนักท่องเที่ยวนานาชาติเข้ามาท่องเที่ยวถึง 22 ล้านคนในปี พ.ศ.2555
Federation of Malaysia สหพันธรัฐมาเลเซีย
เมืองหลวง - กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เค เเอล) เป็นเมืองหลวงของ มาเลเซีย ตั้งแต่พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และมีพื้นที่ประมาณ 243 ตารางกิโลเมตร หรือ 94 ตารางไมล์ เมืองหลวงแห่งนี้มีประชากรกว่า 1.6 ล้านคน
การปกครอง - กัวลาลัมเปอร์นั้นมีการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีส่วนกลางอยู่ที่ศาลาว่าการกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงกิจการดินแดนสหพันธรัฐมาเลเซีย
เศรษฐกิจ - กัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางทางการเงิน ธุรกิจประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ สื่อมวลชน และศิลปะของประเทศมาเลเซีย อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แห่งมาเลเซีย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในการดำเนินธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ท่องเที่ยว - กัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองที่มีผู้มาท่องเที่ยวมากเป็นลำดับที่ 6 ของโลก มีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 8 ล้านคนต่อปี โดยการท่องเที่ยวเพื่อการประชุม หรือ MICE Tourism นี้ได้มีอัตราการขยายตัวมากในหลายๆปีที่ผ่านมาและได้กลายเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาเลเซีย
Republic of Singapore สาธารณรัฐสิงคโปร์
นครรัฐ : สาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะ โดยมีทั้งสิ้น 63 เกาะและมีประชากรกว่า 5 ล้านคน สิงคโปร์ได้แยกจากประเทศมาเลเซียเป็นสาธารณรัฐอิสระในพ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965)
การปกครอง – สิงคโปร์มีการปกครองแบบสาธารณรัฐเดี่ยวที่มีรัฐสภาเป็นระบบพหุพรรค โดยพรรค The People’s Action Party ชนะทุกการเลือกตั้งมาโดยตลอดตั้งแต่มีการปกครองตนเองในปีพ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1959) เป็นต้นมา
เศรษฐกิจ - สิงคโปร์เป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งอาเซียนและยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินชั้นนำอันดับที่ 4 ของโลก นอกจากนี้ท่าเรือของสิงคโปร์ยังเป็นหนึ่งในห้าท่าเรือที่คึกคักที่สุดในโลก
การท่องเที่ยว – การท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจสิงคโปร์ ซึ่งมีคาสิโนรีสอร์ทแบบครบวงจร 2 แห่ง เป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่เรียกขานกันทั่วไปว่าสถานที่พักตากอากาศแบบผสมผสาน นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยให้บริการทางการแพทย์แก่คนไข้ชาวต่างชาติมากกว่าหนึ่งล้านคนต่อปี
Republic of Indonesia สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
เมืองหลวง - กรุงจาการ์ตาเป็นเขตนครหลวงพิเศษของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เมืองหลวงแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง ประชากรของกรุงจาการ์ตามีมากกว่าสิบล้านคน นอกจากนี้กรุงจาการ์ตายังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) อีกด้วย
การปกครอง – กรุงจาการ์ตามีการบริหารโดยการแต่งตั้งผู้ว่าการรัฐเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารสูงสุดของศาลาว่าการแห่งจาการ์ตา
เศรษฐกิจ – เศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงจาการ์ตาประกอบด้วย การให้บริการทางการเงิน ธุรกิจการค้า และอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยว – ประเทศอินโดนีเซียมีเมืองที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวสามเมืองหลักคือ จาการ์ตา บาหลี และยอกยาการ์ตา -สำหรับกรุงจาการ์ตานั้นมีรายได้จากการท่องเที่ยว-เป็นรายได้หลักของเมือง
Negara Brunei Darussalam บรูไนดารุสซาลาม
เมืองหลวง – กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน เป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรของสุลต่านแห่งบรูไน มีจำนวนประชากรกว่า 140,000 คน
การปกครอง – กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน มีการบริหารจัดการโดยเทศบาลเมืองบันดาร์เสรีเบกาวันซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงกิจการภายในบรูไน
เศรษฐกิจ – กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน มีการผลิตเฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ สินค้าหัตถกรรม และป่าไม้
การท่องเที่ยว - กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน มีชื่อเสียงเกี่ยวกับมัสยิด โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์อันมีเอกลักษณ์ และหมู่บ้านริมน้ำ บรูไนมีทั้งวนอุทยานที่สมบูรณ์และแหล่งดำน้ำที่สวยงามตามน่านน้ำชายฝั่ง
Republic of the Philippines สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
เมืองหลวง – กรุงมะนิลาเป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ มีประชากรกว่า 1.6 ล้านคน อดีตเมืองหลวงเก่าของประเทศฟิลิปินส์คือ เกซอนซิตี้ กรุงมะนิลามีพื้นที่เพียง 38.55 ตารางกิโลเมตร (14.88 ตารางไมล์) เท่านั้น
การปกครอง – กรุงมะนิลานั้นถูกปกครองโดยนายกเทศมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าของสภาเทศบาลเมืองมะนิลา โดยนายกเทศมนตรีคนปัจจุบันนั้นได้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลาสามสมัยติดต่อกัน
เศรษฐกิจ – กรุงมะนิลาเป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญของประเทศและมีโรงงานที่หลากหลายซึ่งผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยว – กรุงมะนิลามีนักท่องเที่ยวเข้ามามากกว่าหนึ่งล้านคนต่อปี โดยจุดแข็งของกรุงมะนิลาคือเป็นศูนย์กลางทางด้านด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และเป็นศุนย์กลางการศึกษาของฟิลิปปินส์
Republic of the Union of Myanmar สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
เมืองหลวง- กรุงเนปิดอว์คือเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ตั้งแต่พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ซึ่งมีกรุงย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงเก่า กรุงเนปิดอว์มีประชากรประมาณหนึ่งล้านคนและเป็นหนึ่งในสิบเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดของโลก
การปกครอง – กรุงเนปิดอว์ เป็นดินแดนสหภาพของรัฐบาลกลางที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงจากประธานาธิบดี
การท่องเที่ยว - สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือบริเวณภายในและโดยรอบของกรุงย่างกุ้งเมืองหลวงเก่าของประเทศ Jogos ซึ่งปัจจุบันเมียนมาร์เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางด้านการท่องเที่ยวที่รวดเร็วมากและยังเป็นแหล่งที่ดึงดูดผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจและนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย
Lao People's Democratic Republic สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เมืองหลวง - นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวมาตั้งแต่พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) โดยตั้งอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำโขงและมีประชากรประมาณแปดแสนคน
การปกครอง – นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเมืองที่มีการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแล
เศรษฐกิจ - เวียงจันทน์เป็นแรงผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และทำให้นครหลวงแห่งนี้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของลาว ในไม่กี่ปีที่ผ่านมาเวียงจันทน์มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจากการลงทุนจากต่างประเทศ
การท่องเที่ยว - แม้ว่าเวียงจันทน์นั้นมีขนาดเล็ก ทว่ากลับมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเยี่ยมเยือนมากมายเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตชนบทแบบเรียบง่ายของเมืองที่รังสรรค์โดยวัดวาอารามและโบราณสถานทางพุทธศาสนา
Kingdom of Cambodia ราชอาณาจักรกัมพูชา
เมืองหลวง - กรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของกัมพูชาตั้งแต่พ.ศ. 1977 (ค.ศ. 1434) ตั้งอยู่บนสองฝั่งของแม่น้ำโตนเลสาบและแม่น้ำโขง มีประชากร 2.2 ล้านคนและมีพื้นที่รวม 678.46 ตารางกิโลเมตร (261.95 ตารางไมล์)
การปกครอง – เทศบาลเมืองพนมเปญมีการปกครองโดยนายกเทศมนตรีผู้ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของเมือง
เศรษฐกิจ - กัมพูชามีศูนย์กลางเศรษฐกิจอยู่ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ ธุรกิจการค้า รวมถึงวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
การท่องเที่ยว - เมืองหลักของกัมพูชาทั้ง กรุงพนมเปญ เสียมเรียบ และสีหนุวิลล์ล้วนเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของประเทศกัมพูชาและของโลก
Socialist Republic of Vietnam สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
เมืองหลวง - กรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามตั้งแต่พ.ศ. 1553 (ค.ศ. 1010) โดยเมืองนี้ตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำแดง โดยมีประชากรมากกว่าสามล้านคน นอกจากนี้ฮานอยยังเป็นเมืองแรกของภูมิภาคอินโดจีนที่มีมหาวิทยาลัยจากตะวันตกเข้ามาก่อตั้ง
เศรษฐกิจ – ฮานอยถูกจับตามองว่าเป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของโลกเมื่อพิจารณาจากอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เศรษฐกิจหลักของฮานอยคือการทำธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว การธนาคารและ นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
การท่องเที่ยว - เมืองหลวงของเวียดนามนั้นก่อตั้งมากว่าพันปี ฮานอยจึงนับว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
แหล่งอ้างอิง
estaciones de radio- กระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/main/th/world/70/page-5.html
- กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/asean/
- http://en.wikipedia.org/wiki/Bangkok
- http://en.wikipedia.org/wiki/Kuala_Lumpur
- http://en.wikipedia.org/wiki/Singapore
- http://en.wikipedia.org/wiki/Jakarta
- http://en.wikipedia.org/wiki/Manila
- http://en.wikipedia.org/wiki/Naypyidaw
- http://en.wikipedia.org/wiki/Vientiane
- http://en.wikipedia.org/wiki/Phnom_Penh
- http://en.wikipedia.org/wiki/Hanoi
- http://en.wikipedia.org/wiki/Bandar_Seri_Begawan