Hot News
September 2014 Leading Persons in ASEAN: Singapore
Leading Persons in ASEAN: Singapore
บุคคลสำคัญในกลุ่มประเทศอาเซียน: สาธารณรัฐสิงคโปร์
Bridget Lew Tan: - ผู้สนับสนุนด้านสิทธิของแรงงานอพยพ
- ประธานและผู้ก่อตั้ง องค์กร HOME ซึ่งย่อมาจาก Humanitarian Organization of Migration Economics
"ความยุติธรรมของสังคมนั้นถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกๆ คน"
"ศักดิ์ศรีของการทำงาน ศักดิ์ศรีของบุคคล และศักดิ์ศรีของชีวิตนั้น ถือเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชน"
องค์กร HOME ดำเนินงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดำรงความยุติธรรมและการมีสิทธิ์มีเสียงของเหล่าแรงงานอพยพ องค์กรนี้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่แรงงานชาวต่างชาติที่ไร้ที่พำนัก โดยเอื้อเฟื้ออาหาร ที่พักอาศัยชั่วคราวและคำปรึกษาด้านกฎหมาย
ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในบ้านหลังใหญ่สำหรับแรงงานข้ามชาติชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ในประเทศกว่า 1.2 ล้านคน ซึ่ง Bridget กล่าวว่า ในประเทศสิงคโปร์นั้น กลุ่มคนที่ถูกมองข้าม ถูกเลือกปฏิบัติ เป็นกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสและถูกใช้เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้องมากที่สุดคือ กลุ่มแรงงานอพยพ พวกเขาเป็นแรงงานที่ขาดทักษะ ซึ่งกฎหมายแรงงานนั้นไม่สามารถครอบคลุมถึงแรงงานกลุ่มนี้ได้
การรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ในปี 2011 (Anti-Trafficking Campaign 2011)
HOME เริ่มต้นรณรงค์ต่อต้านเพื่อหยุดการค้าแรงงานเด็กและเยาวชนในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งคำร้องเรียนดังกล่าวได้ถูกยื่นไปยังองค์การสหประชาชาติ (United Nation) ณ กรุงเจนีวา (Geneva)
TIP Heroes Award 2011
เมื่อปีพ.ศ. 2554 ฮิลลารี คลินตัน (Hilary Clinton) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ยกย่อง Bridget Lew Tan และให้เกียรติเป็นหนึ่งในวีรสตรีผู้มีบทบาทในด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons หรือ TIP)
“ในประเทศสิงคโปร์นั้น Bridget Lew Tan ได้อุทิศชีวิตเพื่อปกป้องแรงงานอพยพชาวต่างชาติ ถึงแม้ประเทศสิงคโปร์นั้นจะเป็นประเทศเล็กแต่มีแรงงานต่างชาติอพยพมากกว่า 1 ล้านคน”
Dr. Eugene Tan
ผู้อำนวยการหอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ (Director of National Art Gallery Singapore – NAGS)
หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์จะเปลี่ยนบทบาทของประเทศทางด้านศิลปะไปสู่การเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคและนานาชาติทางด้านทัศนศิลป์ ผ่านการแสดงผลงาน การสนับสนุนส่งเสริมด้านศิลปะ การวิจัยและการศึกษาในด้านศิลปะของสิงคโปร์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้หอศิลป์แห่งนี้ยังเป็นที่จัดแสดงของนิทรรศการศิลปะนานาชาติอีกด้วย
หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ จะเปิดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2558 และจะทำให้ประเทศสิงคโปร์เป็นเมืองระดับโลกทางด้านศิลปะ ด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
- เป็นแหล่งรวมชิ้นงานทางศิลปะของสิงคโปร์และชิ้นงานศิลปะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใหญ่ที่สุด
- ด้วยบทบาทการเป็นหอศิลป์แห่งชาติ หอศิลป์แห่งนี้จึงมีเป้าหมายในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในชิ้นงานศิลปะให้กับผู้คนในชาติอีกด้วย
- หอศิลป์เล็งเห็นว่าการศึกษาวิจัยในงานศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีน้อยจึงส่งเสริมในด้านนี้
- หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์เป็นแหล่งรวมผลงานทางศิลปะขนาดใหญ่ที่สอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์ของประเทศที่จะสร้างความเป็นเมืองระดับโลกทางด้านศิลปะ
Dr. Eugene Tan กล่าวว่า “การสร้างหอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์นั้น เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศสิงคโปร์วางจุดยืนของประเทศในการเป็นผู้นำทางด้านศิลปะในภูมิภาค และสิ่งที่ทำให้สิงคโปร์ยืนอยู่บนบทบาทนี้ นั่นเพราะว่าสิงคโปร์เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายในมิติของวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นยุโรป เอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสามารถผสมผสานมิติทางวัฒนธรรมเหล่านั้นรวมกันได้ ประเทศสิงคโปร์จึงเชื้อเชิญให้ผู้คนในแต่ละวัฒนธรรมเข้ามาสร้างผลงานทางศิลปะที่เป็นพหุวัฒนธรรมนี้”
ประวัติการทำงาน
Dr. Tan จบการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ (Art History) จาก University of Manchester โดยก่อนหน้านี้ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งเช่น ผู้อำนวยการด้านศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) ของ Sotheby’s Institute of Art Singapore และ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของ The Institute of Contemporary Art Singapore in LaSalle College of the Arts