Hot News
November - December 2014 Leading Persons in ASEAN: Malaysia
Leading Persons in ASEAN: Malaysia
บุคคลสำคัญในกลุ่มประเทศอาเซียน: สหพันธรัฐมาเลเซีย
1 Dr. Wazir Jahan Karim
ประธานกรรมการบริหารของ Intersocietal and Scientific (iNAS)
Dr. Wazir Jahan Karim ทำงานที่เกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างเพศ การรักษาประเพณีวัฒนธรรมพื้นเมืองและการอนุรักษ์มรดกของชาติ
การศึกษา
- University of Singapore (Social Sciences), Singapore
- London School of Economics and Political Sciences, University of London, U.K. (Economic Anthropology)
ผลงานวิจัย
Dr. Karim อาศัยอยู่กับชนพื้นเมือง Ma’ Betisé’ ในบริเวณป่าชายเลน ฝั่งตะวันตกของมาเลเซียเป็นระยะเวลา 2 ปีเพื่อที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษวิทยา
รางวัล
ปี พ.ศ. 2520 Raymond Firth Prize
ปี พ.ศ. 2542 Rotary Golden Medal for Most Outstanding Scholar in the Social Sciences
รางวัลเหรียญทองของสโมสรโรตารี่สำหรับนักวิชาการที่มีผลงานโดดเด่นในสาขาสังคมศาสตร์
ปีพ.ศ. 2548 Outstanding Woman Academician in Penang State
รางวัลนักวิชาการหญิงที่มีความโดดเด่นที่สุดในรัฐปีนัง
iNAS
Intersocietal and Scientific หรือ iNAS เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2538 เพื่อสร้างเครือข่ายทางด้านการวิจัย โดยเป็นศูนย์รวมของนักวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประวัติศาสตร์และมรดกทางด้านธรรมชาติของชุมชนชายฝั่งทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงแรกเริ่มของการก่อตั้งได้มุ่งเน้นงานวิจัยเรื่องชนเผ่าพื้นเมืองของมาเลเซียและในระยะหลังได้มีการเพิ่มงานวิจัยทางด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนแถบช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้
Dr. Wazir Jahan Karim กล่าวว่า “ประเด็นสำคัญทางด้านสังคมศาสตร์ที่เป็นที่สนใจในระดับโลกนั้น ประเด็นในเรื่องของผู้หญิงกับแนวคิดของการเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวนับเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีผู้หญิงจำนวนมากที่เก็บตัวอยู่ท่ามกลางปัญหาและสภาวะที่ตนเองประสบอยู่ นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ควรที่จะตระหนักถึงปัญหาสังคมเหล่านี้และศึกษาถึงต้นตอเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะนำพาประเทศไปสู่สภาวะความยากจนโดยรวม ในการพัฒนาประเทศนั้นไม่เพียงแต่จะมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีเท่านั้น ควรที่จะมีการมุ่งเน้นประเด็นความสนใจไปยังเรื่องของมนุษยชาติและมนุษยธรรมด้วย”
2 Vincent Leong
จบการศึกษาจาก Goldsmith’s College, London, United Kingdom ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้แสดงผลงานทางศิลปะเป็นจำนวนมากในหอศิลป์ชื่อดังต่างๆ อาทิ เช่น Valentine Willie Fine Art (เมืองกัวลาลัมเปอร์), Sculpture Square (สิงคโปร์), Gertrude Contemporary Art Space (เมืองเมลเบิร์น), Institute of Contemporary Arts (สิงคโปร์) อีกทั้งยังจัดแสดงผลงานในชุด the Guggenheim UBS-MAP show, “No Country: Contemporary Art for South and Southeast Asia” ณ นครนิวยอร์ก ฮ่องกง และสิงคโปร์
ศิลปินนักทดลอง
ผลงานของ Vincent Leong เน้นเรื่องการผสมกลมกลืนของความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะการมุ่งเน้นไปยังชนชาติที่สำคัญสองกลุ่มคือชาวจีนและชาวอินเดีย โดยใช้เทคนิคการนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบของภาพถ่ายและวีดีโอ
Vincent Leong กล่าวว่า ประเทศมาเลเซียมีการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชนชาติต่างๆในประเทศ ในช่วง 55 ปีที่ผ่านมาประเทศมาเลเซียก็มีการเฉลิมฉลองความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างอิสระ แต่ในปัจจุบันมีกระแสทางการเมืองที่จะแยกชาวมาเลย์ออกจากชนชาติอื่นๆ บางครั้งถึงกับใช้ความเชื่อในทางศาสนาเพื่อแบ่งแยก ซึ่งการกระทำของกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่ออนาคตของประเทศได้ ดังนั้นผมจึงสร้างผลงานที่แสดงออกถึงความเชื่อที่ผิดและสร้างความรู้สึกถึงความผสมผสานกลมกลืนทางเชื้อชาติเพื่อจะบ่งบอกถึงประเด็นสำคัญทางสังคมเหล่านี้”